วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติวัด

วัดดุสิดาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก เหนือปากคลองยางกอกน้อย แขวงอรุณอัมรินทร์ เขต บางกอกน้อย กรุงเทพมหานครฯ
 
ย้อนรอยอดีต
            พระอารามแห่งนี้เป็นวัดโบราณนามว่า วัดเสาปักโคน ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สร้างมาประมาณ ๒๐๐ ปีและสถานภาพของวัดดุสิดารามปัจจุบันนี้ คือ การรวมกันของวัดภุมรินราชปักษี วัดน้อยทองอยู่ มาเป็นวัดดุสิดารามวรวิหาร เลขที่ ๗ เชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานครฯ ๑๐๗๐๐ เนื้อที่รวม ๓๗ ไร่ ๑ งาน ๙๔ ตารางวา

อาณาเขตที่ตั้งวัด และทรัพย์สิน
            ทิศเหนือ จรดที่ดินเลขที่ ๒๔๕/๕๖๐
ทิศใต้ จรดคลองขนมจีน-แม่น้ำเจ้าพระยา
ทิศตะวันออก จรดถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า
ทิศตะวันตก จรดทีดินเลขที่ ๒๔๘-๒๖๐

ผู้สร้างและปฏิสังขรณ์

               พระอารามนี้เป็นวัดโบราณ เดิมชื่อว่า วัดเสาประโคน สันนิฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแต่ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง ต่อมาในรัชการที่ ๑ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงศรีสุนทรเทพพระราชธิดาในหระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงสร้างวัสดุและปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถุ เข้าใจว่าทรงสร้างพระอุโบสถหลังปัจจุบันขื้น พร้อมทั้งพระระเบียงหรือวิหารคต หอระฆังและกุฏิ ๒ คณะ

 ในรัชกาลที่ ๒
                 สมเด็จพระบวรราชเจ้า กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ได้ทรงสร้างและทรงปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุในพระอารามแห่งนื้อีก เช่นหอสวดมนต์ ศาลาการเปรียญและพระเจดีย์ ๔ องค์ในบริเวณ ๔ มุมชองพระอุโบสถ ครั้นเมื่อพระองค์ได้ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์เรียบร้อยแล้ว จึงได้พระราชทานนามใหม่ว่า วัดดุสิดาราม

                                   
ในรัชกาลที่ ๓
                   ในรัชกาลนี้ ได้ทรงปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ วิหารและกุฏิทั่วพระอารามตลอดจนถนนหนทางในพระอารามนี้
                   อนึ่ง ในรัชกาลนี้้ ได้ทรงหมายสั่งให้แต่งตั้ง พระมหาเกิด เปรียญ ๕ ประโยค วัดดุสิดารามเป็นพระราชาคณะ ชั้นราชในทินนามพระราชโมลี และถวายนิตยภัต จำนวน ๒ บาทกับ ๔ ตำลึงอีกด้วย  

 กิจกรรมฃองวัด

กิจกรรมของวัดนี้ มีการทำวัตรสวดมนต์ทั้งเช้าและเย็น การสวดปาฏิโมกข์ทุกครึ่งเดือน การบวชสามเณรและพระภิกษุ การแสดงพระธรรมเทศนา  และการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและบวชชีพรหมณ์ตลอดทั้งปี

จำนวนพระภิกษุสามเณร

-ในปี 2555 มีภิษุสามเณร 45 รูป
-ศิษย์วัดจำนวน 12 คน
-ในปั ๒๕๕๖ มีภิกษุสามเณร ๓๕ รูป
-ศิษย์วัดจำนวน ๑๒ คน

การศืกษาของวัด
1.การศืกษาบาลีตั้งแต่ ประโยค ๑/๒ ถึง ประโยค ๙
2.การศืกษานักธรรมชั้นตรี ถึง ชั้นเอก


บรรยากาศภายในวัด
            
 บรรยากาศภายในวัด มีวิวพระระเบียงรอบพระอุโบสถ หอระฆัง  จิตตกรรมฝ่าผนัง วิว
ที่โรงเรียนปริยัติธรรม และมีสวนดอกไม้หรือต้นไม้นานาชนิดมากมาย ซึ่งทำให้บรรยากาศภาย
ในวัด ดูสวยงามและมีดวามร่มเย็น เป็นต้น

ปูชนียวัตถุ
           
            ปูชนียวัตถุที่เป็นอสังหาริมทรัพย์  ได้แก่
            -พระประธานปางมารวิชัย ประดิษฐานภายในพระอุโบสถ หน้าตักกว้าง ๒ ๑๒ เมตร สูง
ถึงพระรัศมีได้ ๒ ๕๙ เมตร
            -พระอัครสาวก ๒ รูป สูง ๙๗ เมตร นั่งพับพะแนงเชิง ( นั่งพับเพียบ ) ตั้งอยู่บนแท่นบังคว่ำบัวหงายด้านขวาและด้านซ้ายพระประธาน ข้างละ ๑ องค์ ผินหน้าเข้าหาพระประธาน
            -พระพุทธรูปยืน อยู่ในลานมุมพระระเบียงทั้งสองข้างหน้าพระอุโบสถ ก่อด้วยปูนลง
รักปิดทองติดกับฝาผนังพระระเบียงรอบพระอุโบสถ มีจำนวน ๖๔ องค์
            -พระปรางค์ อยู่ในลานมุมพระระเบียงทั้งสองข้างหน้าพระอุโบสถ ข้างละ ๑ องค์ ฐาน
ล่างกว้าง ๔ ๑๐ เมตร สูง ๙ ๗๕ เมตรเท่ากันทั้งสององค์
            -พระเจดีย์ อยู่ในลานมุมพระระเบียงด้านหลังพระอุโบสถข้างละ ๑ องค์ ฐานล่างกว้าง
๔ ๑๐ เมตร สูง ๑๐ ๑๕ เมตรเท่ากันทั้งสององค์
            -ห่อระฆังเก่าแก่ ๑ ห่อ ฐานล่างกว้างประมาณ ๔ ๑๔ เมตร สูงประมาณ ๑๐ ๒๐ เมตร
            -พระอุโบสถเก่าทรงสำเภา ( พระอุโบสถมหาอตม์ ) เป็นพระอุโบสถขนาดเล็กทรวดทรงงดงาม หน้าบันรูปนารายณ์ทรงครุฑและนกยูงรำแพน ปิดกระจกสวยงาม ด้านหนังประดิษฐาน
พระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติ
            -พระวิหารเก่าแก่ เป็นพระวิหารขนาดเล็กทรงสำเภา หน้าบันรูปนารายณ์ทรงครุฑ ด้านหลังประดิษฐานพระพุทธรูปยืน ปางประทานพร
            -เรือนไม้โบราณ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา ได้โปรดเกล้าฯ ให้นำมาสร้างเป็นกุฏิสงฆ์
            นอกจากนี้ยังมีปูชนียวัตถุที่เป็นสังหาริมทรัพย์อีกหลายอย่าง เช่น พระพุทธรูปสำริด
เก่าแก่ปางต่าง ๆ เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่ประมาณ ๕-๑๐ องค์
            กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดดุสิดารามวรวิหารนี้ เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๗๖ ตอนที่ ๓ เมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๐๒
            ต่อจากนี้ ผู้ทำรายงาน ขออนุญาตนำรูปภาพต่าง ๆ ภายในวัดดุสิดาราวรวิหาร มาแสดง
ประกอบเพื่อความเข้าใจได้ยิ่งขึ้น ดังนี้









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น